MapleStory Finger Point

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคขั้นเทพ



วาง Rubik ของท่านลงก่อน แล้วลองมาอ่านทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้กันก่อนนะครับพี่น้องครับ..



ทำไมต้อง F2L?

จากสูตร Basic โดยทั่วไป ส่วนมากจะมีลักษณะการทำคล้ายๆ กันดังนี้
1. ทำ Cross
2. ขึ้นหน้าหนึ่ง (บางคนอาจมีกิ๊กสองคน แล้วไปเจอกันที่ลานจอดรถ ทะเลาะกันเรื่องรถ .. เง้ย!! ไปยุ่งอะไรกับเค้า!!!)
3. ทำ Layer ที่ 2 โดยเอาสีที่ถูกมาอุด edge ให้ถูกต้อง
4. ทำชั้นสุดท้าย ซึ่งก็จะมี OLL + PLL

ซึ่งจากที่ผมได้ทำสูตร Basic มาก็จะรู้สึกว่าขั้นตอน 2 และ 3 มันทำให้เสียเวลาไปมากๆ ถึงแม้จะทำคล่องๆ ก็ตาม
จนได้รู้จักกับ F2L ในสูตร Advance ซึ่งมันจะเป็นการรวบขั้นตอนของ 2 และ 3 เอาไว้ด้วยกัน
ซึ่ง F2L ย่อมากจาก Failed To Love .. เง้ย!! มะช้ายย!!! จะหาเรื่องอกหักซะงั้น!!! ....
จริงๆ แล้วมันย่อมาจาก "First Two Layers" .. หรือวินมอเตอร์ไซค์หน้าปากซอยเรียกว่า "ทำรวดเดียว ได้มาสองชั้นเลย ฮ่า ฮ่า"


อ้าว แล้วทำไมหลายๆ คนถึงมึนกับ F2L ล่ะ?

     ไม่นะครับไม่ .. บางคนไม่แค่มึน แต่เมาด้วยเลยล่ะ!! เช่นผมเป็นต้น ฮ่า ฮ่า ฮ่า
ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสูตรมันเยอะมากๆ แล้วก็ต้องจำเยอะมาก ยิ่งตอนหัดแรกๆ นี่มึนหัวแทบเอาหัวไปกระแทกฝากันเลยทีเดียว
อีกอย่าง ก็จะเกิดกรณีเช่น .. "เย่ๆๆๆ ทำได้แล้วๆๆๆ เอ้า ... ไปสูตรต่อไป ... เย่ๆๆๆ ได้แล้วๆๆๆ .. อ้าว!! แล้วสูตรเมื่อกี้ทำไงล่ะ!!"
เป็นต้น ...
ซึ่งกรณีเช่นนี้ ทำให้เกิดความคิดที่ว่า น่าจะมีการพูดถึง F2L แบบเป็นภาษาง่ายๆ
ไม่ใช่แค่เอาสัญลักษณ์การบิดมาวางโป๊ะ แล้วก็ "เอ้า แก ทำตามนี้เลยนะ" ..


แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับศัพท์บางศัพท์กันก่อนนะครับ

1. Edge : คิดว่าคงรู้กันแล้วนะครับ แต่ถ้าไม่รู้ผมจะบอกอีกที มันก็คือเม็ดสีที่อยู่ขอบ ไม่ใช่อยู่ตรงมุม จะมีอยู่ 2 สี
2. Corner : ตรงข้ามกับ edge ครับ คือเป็นเม็ดที่อยู่ตรงมุม จะมีอยู่ 3 สี
3. Center : สีแกนกลาง จะไม่มีทางเปลี่ยนได้ จะตายตัว ซึ่งจะเป็นเม็ดที่อยู่ตรงกลางของแต่ละด้านของ rubik
4. Slot : มันคือ "แถว" ของสีในแนวตั้งเมื่อมองเทียบกับ Cross ที่ทำได้ครับ
5. Right Slot : เป็น slot ที่มีสีที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากที่เราทำเอาไว้ หรือ .. ฟลุคได้มาเอง ฮ่า ฮ่า
สำหรับ right slot นี้ เราไม่ควรไปแตะต้องครับ ไม่งั้นอาจจะต้องเสียเวลาทำใหม่
6. Empty Slot : เป็น slot ที่ยังไม่มีสีที่ถูกต้องมาลงที่ slot นี้ ซึ่งเราจะใช้ empty slot นี้
ให้เป็นประโยชน์ในการเอาทั้ง edge และ corner ที่อยู่ผิดตำแหน่ง มาลงให้ถูกต้องจนเกิดเป็น right slot
ทั้งนี้ก็เพราะว่า empty slot นี้เมื่อพลิกไปมาโดยใช้ empty slot เป็นตัว free ถึงแม้มันจะแตกยังไง ก็ไม่มีผลอะไร
ต่างกับ right slot ที่เราไม่อยากให้มันแตกสีกัน


เอาล่ะเมื่อเข้าใจสิ่งต่างๆแล้ว เราก็มาดู VDO การสอน F2L กันเลย !!



F2L-Intro


F2L-01



F2L-02


F2L-03


F2L-04


F2L-05


F2L-06


F2L-07


F2L-08


F2L-09



F2L-10







จริงๆ หลักการมันมีแค่นี้เองครับ เดี๋ยวผมจะสรุปนะครับ
1. ถ้า edge กับ corner อยู่ติดกันด้านบน จับมันแยก
2. ถ้า edge กับ corner อยู่ติดกันแต่อยู่ผิด slot ก็พลิกขึ้นด้านบนก่อน แล้วจับแยก
3. ในตอนที่แยกกัน ถ้ามองจากด้านบน พยายามทำให้ทั้ง egde และ corner เป็นคนละสีกันโดยไม่ใช่สีขาว
4. แต่ถ้าเป็นสีขาว ก็มีทางเลือก 2 ทางคือ ทำอันอื่นก่อน .. หรือ .. กลับไปพลิกเอาสีขาวหนีไป
5. พอมันแยกกันอย่างถูกต้องแล้ว ก็พลิกสีเข้าหากัน
6. พอได้ edge กับ corner ติดกันแบบถูกต้องแล้ว เราก็หมุน U หรือ U' ไปหา slot ของมัน
7. พลิก slot นั้นขึ้นมารับ และเอา edge กับ corner นั้น มาแปะ แล้วก็บิดกลับลงไป











4 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. ที่มา http://thailandcube.com/ ครับ
      ผมทำไว้นานแล้วครับ ไม่ได้เข้ามดูเลย

      ลบ
    2. เน้นที่การมองเป็นหลักครับ มองยังไงให้ได้รูปแบบ

      ลบ